ค้นหา

nicetomeetu training

บันทึกรวบรวม ข้อมูลสื่อธรรม-กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ สาระดีๆ มีไว้แบ่งปัน

วินัย : เรื่องใหญ่กว่าที่คิด

CoverVinayaMatter

…” ความหมายที่ต้องการของวินัยเป็นความหมายเชิงบวก กล่าวคือวินัยเป็นการจัดสรรโอกาส ทำให้ชีวิตและสังคมมีระบบระเบียบ และมีโอกาสเกิดขึ้น ทำให้ทำอะไรๆได้คล่อง ดำเนินชีวิตได้สะดวก ดำเนินกิจการได้สะดวก ถ้าชีวิตและสังคมไม่มีระเบียบ ไม่เป็นระบบ ก็จะสูญเสียโอกาสในการที่จะดำเนินชีวิตและทำกิจการของสังคมให้เป็นไปด้วยดี ตลอดจนทำให้การพัฒนาได้ผลดี “…

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” วินัย : เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ”
ดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐ หน้า ๑๒-๑๓)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/vinaya_greater_than_you_think.pdf

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

CoverVinayaMatter

หลักแม่บทของการพัฒนาตน

CoverLakmaebot

…ถ้าไม่พัฒนาตน ก็เป็นไปในทางตรงกันข้าม ไม่รู้เข้าใจตัวตนว่าเป็นอนัตตา ก็ยิ่งพัฒนาความยึดมั่นในตัวตน ตัวตนมันก็ขยายพอกพูนออกไป พองออกไป อยู่นานวันเข้าตัวตนของเราก็ยิ่งพองขยายใหญ่ พอขยายใหญ่ก็ยิ่งทุกข์มาก เพราะตัวตนแค่นี้ มันรับกระทบแค่นี้ มันก็ทุกข์แค่นี้ พอนานๆ เข้ามันขยายออกไป ขยายออกไปอยู่กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ คือ ถ้าเราอยู่ในโลกไม่เป็น ก็ติดโลก ก็ยึดทุกอย่างในโลก เช่น ของที่เรามี เรายึดทุกอย่าง พอเรายึดอะไร ตัวตนของเราก็ขยายไปอยู่กับมัน สิ่งนั้นก็ผนวกเข้าเป็นตัวตนของเรา…

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” หลักแม่บทของการพัฒนาตน ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๕ หน้า ๘๗)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/self_development_essentials.pdf

CoverLakmaebot

สมาธิแบบพุทธ

Cover431SamadhiBudhTh

” ได้พูดเรื่องสมาธิ ให้เห็นความหมาย คุณประโยชน์และการใช้ที่ถูกต้องตามหลักการของพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งการใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นที่ข้างเคียง ซึ่งถ้าเรารู้เท่าทันแล้ว แม้แต่ประโยชน์ข้างเคียงก็เอามาใช้ได้หมด ไม่ใช่หมายความว่าจะไม่ให้โยมใช้

แม้แต่เป็น “ตัวกล่อม” ก็ใช้ได้แต่ใช้ได้ในขอบเขตที่ว่า
อย่าให้เกิดความประมาท
อย่าให้มันดึงเราให้หยุดอยู่นิ่ง
แต่ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วคราวผ่านไป
เหมือนอย่างใช้ยานอนหลับ แก้โรคได้แต่อย่าให้ติด จะใช้เพื่อ “พลังจิต” ก็ใช้ได้ อย่างน้อยรวมจิตไม่ให้มันฟุ้งซ่านไปก็ยังดี

แต่อย่าลืมก้าวต่อไปในการใช้ประโยชน์ที่แท้ คือ ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมายของพุทธศาสนาที่จะกําจัดกิเลส และให้รู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลาย
ให้รู้ถึงความที่สิ่งทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างไร
แล้วรู้จักโลกและชีวิตตามเป็นจริง จนกระทั่งวางจิตวางใจต่อชีวิตและโลกได้ถูกต้อง
เป็นจิตสงบ ราบเรียบ โปร่งโล่ง ผ่องใส เป็นอิสระ เพราะไม่มีกิเลส ไม่มีอะไร หรือความเป็นไปใดๆ ในโลก ที่จะมาทําให้จิตหวั่นไหวได้ เพราะปัญญาเขาถึงความจริง แล้วดําเนินชีวิตเป็นอยู่ด้วยปัญญา ที่รู้ และทําตรงเหตุปัจจัย

อันนี้คือสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งจะสําเร็จด้วยการที่มาปฏิบัติ ตามกระบวนการส่งต่อของไตรสิกขา ”

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” สมาธิแบบพุทธ ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ หน้า ๔๖)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/samadhi_in_buddhism.pdf

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

Cover431SamadhiBudhTh

สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน

CoverSangha&Social2B

” ปัจจุบัน มีผู้วิพากษ์วิจารณ์พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กันมาก คำวิจารณ์จำนวนมากเป็นไปในรูปการติเตียนและโจมตี มีไม่น้อยที่กล่าวทำนองว่าพระสงฆ์เอาเปรียบสังคม ที่ถึงกับว่าควรทำลายสถาบันพระพุทธศาสนาลงเสียทั้งหมดก็มี จึงเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันไว้บ้าง เพื่อช่วยให้ปฏิบัติการต่างๆ มีพื้นฐานทางสติปัญญามากขึ้น รู้จักแก้ปัญหากันด้วยความเข้าใจปัญหามากขึ้น และถ้าหากจะช่วยให้เกิดนิสัยใฝ่รู้ใฝ่แสวงปัญญา พยายามศึกษาค้นคว้าให้ถึงตัวแท้ตัวจริงของสิ่งทั้งหลายอย่างจริงจัง ไม่วินิจฉัยสิ่งต่างๆ เพียงด้วยภาพที่มองเห็นแค่พื้นผิว ”

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งพิเศษ กันยายน ๒๕๕๘ หน้า ๒)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/sangha_institution_and_todays_society.pdf

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

CoverSangha&Social2B

ทำอย่างไร จะหายโกรธ

thbL_Cover577AngerAtBay

” พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนับว่าเลวอยู่แล้ว

คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก

เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่านั้นเลย”

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” ทำอย่างไร จะหายโกรธ ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ หน้า ๓)
ฉบับ ๒ ภาษา

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/…/ten_ways_to_keep_anger_at_bay_…

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

thbL_Cover577AngerAtBay

สลายความขัดแย้ง เข้มแข็งด้วยปัญญา

Cover436DeconflictNewWeb

…การประนีประนอม (compromise) ไม่เป็นการแก้ปัญหาที่แท้จริง ไม่อาจทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน มนุษย์ที่พัฒนาจึงจะต้องไปให้ถึงความประสานกลมกลืน หรือความสอดคล้องสามัคคี (harmony)

แต่ละฝ่ายที่ขัดแย้งกันนั้น ต่างก็มุ่งจุดหมายที่จะเอาผลประโยชน์ของตน เมื่อต่างฝ่ายมีจุดหมายของตนคนละทาง ก็ย่อมไปได้แค่การประนีประนอม

วิธีแก้ปัญหาให้เกิดความประสานสอดคล้องก็คือ ต้องให้ทั้งสองฝ่ายหรือทุกฝ่ายมองเห็นจุดหมายใหญ่เหนือขึ้นไปซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน…

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” สลายความขัดแย้ง เข้มแข็งด้วยปัญญา ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ หน้า ๓๔)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
http://www.watnyanaves.net/…/bo…/pdf/dissolving_conflict.pdf

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

Cover436DeconflictNewWeb

ปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน

CoverKathin54

…ต่อไปจะพูดถึงกฐินในแง่นามธรรมบ้าง

สาระของกฐิน คือ น้ำใจสามัคคี
ผ้ากฐินผืนเดียวนั้น เป็นเครื่องแสดงสาระอะไรในทางนามธรรม สาระนั้นก็คือ ความสามัคคีนั่นเอง

เริ่มด้วยความสามัคคีของพระสงฆ์ที่อยู่ร่วมกันมา ๓ เดือน ที่มีและยังมีความพร้อมเพรียงกัน มาร่วมด้วยช่วยกัน ถ้ายังไม่มีผ้า ก็ไปหาผ้ามาสําหรับทําจีวร พร้อมใจกันมอบผ้านั้นให้แก่องค์ใดองค์หนึ่ง
เมื่อมอบให้แล้ว ก็ไม่ทิ้ง ไม่มีการรังเกียจกัน ไม่มีการแบ่งแยกพวกกัน ยังมีใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไปช่วยทําจีวรกันจนสําเร็จ แสดงถึง ความสามัคคีตลอดทุกขั้นจนงานลุล่วงเรียบร้อย

สามัคคีนี่แหละ คือสาระของกฐินในทางนามธรรม
ตกลงว่า กฐินในทางรูปธรรม คือผ้าผืนหนึ่ง
สาระในทางนามธรรม คือความสามัคคี

แล้วความสามัคคีในหมู่สงฆ์ก็ขยายไปถึงโยม กล่าวคือ ทางด้านพระร่วมใจกันอย่างนี้แล้ว โยมก็เข้ามาหนุนว่า อย่าให้พระลําบากเลย พระต้องไปทําผ้าลําบากลําบน ต้องมาตัด มาเย็บ มาย้อม เรามีศรัทธา เราก็ช่วยท่านทําให้สําเร็จ

แต่ย้ำว่า พระจะไปขอไปเลียบเคียงไม่ได้เป็นอันขาด โยมต้องมีศรัทธามาร่วมเอง แสดงว่าเป็นไปด้วยจิตใจแท้ๆ

โยมมีความร่วมใจกับพระสงฆ์ เห็นว่าพระสงฆ์ที่อยู่วัดนี้ มีความประพฤติดี ไม่น่ารังเกียจ โยมก็มีศรัทธานํามาถวาย เท่ากับตัดขั้นตอนของการหาและการทําจีวร

ตอนนี้ก็ได้สามัคคีของโยมด้วย โดยโยมเขามาร่วมสนับสนุนพระสงฆ์ โยมเป็นพุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ จึงเป็นอันว่า ตอนนี้พุทธบริษัททั้งฝ่ายพระสงฆ์ และฝ่ายคฤหัสถ์ก็ได้สามัคคีกัน

ต่อมาประเพณีก็เพิ่มขยายไปตามสาระของกฐิน ที่เป็นเรื่องของความสามัคคีแสดงน้ำใจกัน พุทธศาสนิกชนก็เลยแสดงน้ำใจข้ามแดนไปยังต่างถิ่นกันด้วย คนหมู่บ้านนี้ ตําบลนี้ อําเภอนี้ จังหวัดนี้ ก็นําผ้ากฐินไปทอดให้วัดที่หมู่บ้านโน้น ตําบลโน้น อําเภอโน้น จังหวัดโน้น…

…เป็นการแสดงความสามัคคีของคนในชาติ ทั้งในหมู่พุทธศาสนิกชน และในสังคมทั้งหมด ก็เลยได้ความสามัคคีกว้างขวางออกไป…

…เมื่อเป็นอย่างนี้ ญาติโยมบางทีไปจัดกฐินเที่ยวบ้าง จัดกฐินมีอะไรต่ออะไรแบบสนุกสนานกันบ้าง

ไม่ว่าจะทําอะไรก็ตาม ก็ขออย่าให้ลืมสาระที่สําคัญคือ การได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การแสดงน้ำใจสามัคคีต่อกันระหว่างคนในสังคมนี้ เริ่มตั้งแต่พระสงฆ์สามัคคีกัน ญาติโยมร่วมสามัคคีกับพระสงฆ์ แล้วจากนั้นญาติโยมและพระสงฆ์ในถิ่นหนึ่ง จังหวัดหนึ่ง ก็ไปสามัคคีร่วมสนับสนุนให้กําลังแก่อีกถิ่นหนึ่ง อีกจังหวัดหนึ่ง ถ้าอย่างนี้ก็ได้สาระของกฐิน…

…ความสามัคคีเป็นหลักสําคัญในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงย้ำไว้นักว่า ความสามัคคีของหมู่ให้เกิดสุข ซึ่งเราส่วนมากเคยได้ยินได้ฟัง หลายท่านก็จําคําบาลีพุทธภาษิตได้ ว่า สุขา สังฆัสสะ สามัคคี

การที่หมู่ชนอย่างพระสงฆ์ จะมีความสามัคคีได้ ก็ต้องมีหลักความประพฤติรองรับ

หลักความประพฤติพื้นฐานก็คือ…

(Cr. จากหนังสือเรื่อง ” ปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ หน้า ๙-๑๑)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
หนังสือปัญหาขัดแย้งในโลก แก้ได้ด้วยกฐิน

CoverKathin54

การศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต

Cover40Ed4Pundit

การศึกษานั้นแท้จริงแล้วต้องนำสังคม ไม่ใช่คอยตามสังคม

…ถ้าสังคมเดินทางผิดพลาด การศึกษาก็ผิดพลาดด้วย กำลังคนที่ได้มาเป็นผลของการศึกษาก็ผิดพลาด….

คนจะต้องมีความดีพิเศษยิ่งกว่านั้น ต้องมีคุณภาพสูงกว่านั้น ต้องมีสติ ปัญญาความรู้คิดมากกว่านั้น เช่น จะต้องรู้เท่าทันสังคม

รู้กระทั่งว่า สังคมเดินทางผิดหรือเดินทางถูก แล้วจะแก้ไขอย่างไร ซึ่งจะทำได้ก็ด้วยการพัฒนาตัวคน ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้

(Cr. จากหนังสือเรื่อง
” การศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัณฑิต ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๗ หน้าที่ ๘)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่ ได้ที่
หนังสือการศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างบัญฑิต

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108
Cover40Ed4Pundit

หลักชาวพุทธ

12112453_503855676457464_8033919535086499343_n

หลักจะมั่น ต้องทำได้ชัด

…เวลานี้ เราเคว้งคว้างกันนัก คำว่า “กรรม” มีความหมายออกมาสู่ภาษาไทยไม่ชัดเจน เพี้ยนเสียมาก อย่างน้อยก็จับจุดไม่ได้

คนจะมองความหมายของกรรมในแง่เป็นบาปเสียบ้าง ไปเน้นในแง่รอผลกรรมบ้าง

ทั้งที่ท่านสอนหลักกรรมมาเพื่อให้เราทำกรรมดี สอนให้เราเลิกทำกรรมชั่ว และให้มุ่งทำกรรมดี ไม่ใช่สอนให้รอผลกรรม

ท่านสอนเพื่อให้ทำ ไม่ใช่สอนให้รอ …

… ต้องพูดให้ชัดเลย บอกว่าให้สร้างความสำเร็จด้วยการกระทำ ไม่ใช่รอผลสำเร็จด้วยการไปอ้อนวอน ไปนอนรอคอยโชคอะไรทำนองนี้….

…หลักกรรมนี้ ไปโยงทั้งกับหลักความไม่ประมาท และหลักความพากเพียร ก็เอามาใช้หมด

(Cr. จากหนังสือเรื่อง
หลักชาวพุทธ : จุดเริ่มจุดร่วม ที่มารวมกันรุ่งโรจน์ (สามไตร ณ ฐานปฏิบัติการ)
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ครั้งที่๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ หน้าที่ ๑๘-๒๐)

ดาวน์โหลด ฉบับเต็มได้ที่
หนังสือหลักชาวพุทธ

หรือขอรับหนังสือได้ (ฟรี) ที่วัดญาณเวศกวัน
02-482-7365, 02-482-7375 ต่อ 106, 108

12112453_503855676457464_8033919535086499343_n

สร้างเว็บไซต์หรือบล็อกฟรีที่ WordPress.com.

Up ↑